วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557



แผ่นบทเพลง Glory to Our Great King (ถวายชัยคีตมหาราชา)

โดย อาจารย์ญัฐ  ยนตนรักษ์

บทประพันธ์ โซนาต้า “ถวายชัยคีตมหาราชา” เป็นดนตรีประกอบดารแสดงบัลเล่ต์เรื่อง”มัทนพาธา” บทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือน พฤษภาคม ๒๕๓๙

และเพลงโซนาต้าบทนี้แสดงครั้งแรกในคอนเสิร์ต”กาญจนาภิเษกสมัย” ซึ่งจัดโดยวงดุริยางค์ซิมโฟนี กรุงเทพเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๗ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ความเป็นมาของ “โซนาต้าถวายชัยคีตมหาราชา (Glory to Our Great King)

เพลงนี้เป็นดำริของคุณหญิงมาลี  สนิทวงศ์  ณ  อยุธยา ที่ปรารถนาจะได้เห็นการนำทำนองบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์  มาประมวลไว้ คิดกันตอนต้นว่าเป็น Royal Compositions โดยมีวัตถุประสวค์ที่จะเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาธรรมิกราช ซึ่งมีพระราชพิธีกาญจนาภิเษกแลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๓๙

ผู้ประพันธ์จึงได้ค้นคว้าพบว่า มีเพลงไทยเดิมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หนึ่งองค์ คือ “บุหลันลอยเลื่อน” และที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ๓ องค์ คือ “คลื่นกระทบฝั่ง” , “ราตรีประดับดาว” และ “เขมรละออองค์” จึงได้นำบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้ง  ๔ องค์นี้มาเป็นทำนองหลักของแต่ละกระบวน  และอัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช  เพื่อเป็นฐานหลักของโครงสร้างอีก ๖ องค์

ความคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำเป็นรูปธรรมได้ยากมาก  แต่ก็ได้พยายามสุดความสามมารถ  สุดกำลังความคิดเพื่อที่จะถวายเป็นเครื่องสักการะแต่ละองค์พระมหากษัตริย์ไทย   ผู้มีเกียรติคุณเกริกไกร  แผ่ไพศาลเหนือแผ่นดินไทยตลอดมา  ในฐานะประชาชนคนหนึ่งผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  ที่ได้เกิดเป็นคนไทยอาศัยอยู่ในร่มพระบรมโพธิสมภาร  มีความสุขความเจริญตราบถึงปัจจุบัน  เป็นแรงบันดาลใจให้มีความเพียรพยายามประพันธ์โซนาต้า”ถวายชัยคีตมหาราชา” นี้

อธิบายความทั้งหมด โดย ญัฐ  ยนตนรักษ์



ซีดีแผ่นนี้ประกอบด้วยเพลง ถวายชัยคีตมหาราชา ๔ ลีลา และ เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราชา อีก ๖ เพลง

๑. Piano Sonata Glory to Our Great King (ถวายชัยคีตมหาราชา) ประกอบด้วย

๑.๑ เพ็ญพิรุณ   (ลีลา Moderato)

มีลักษณะสง่างาม อยู่ในคีตลักษณ์แบบโซนาต้า โดยช้าทำนองเพลง”บุหลันลอยเลื่อน” เป็นทำนองแรก และเพลง”สายฝน” เป็นทำนองที่ ๒ ทำนองแรกนั้นมีช่วงจบอยู่ในบันไดเสียงแบบ Dorian mode ซึ่งแปลกและสะดุดหูจึงใช้เป็นทำนองนำและจบของกระบวนด้วย กระบวนนี้จึงแบ่งเป็นออกเป็น ๓ ส่วน

ส่วนแรก(Exposition) เริ่มด้วยทำนอง”บุหลันลอยเลื่อน” ที่มีช่วงต่อนำเข้า”สายฝน” โดยมีลักษณะล้อเสียงของเม็ดฝนเป็นเสียงสูง แล้วสายฝนประโยคแรกจะเข้ามาด้วยเสียงต่ำก่อน แล้วจึงสรุปลงด้วยเสียงฝนพราว ก่อนจะเข้า

ส่วนกลาง(Development) ซึ่งใช้ทำนองแรกมาแปรในลักษณะต่างต่าง มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เอ่ยถึงเพลง”มหาจุฬาลงกรณ์” ซึ่งจะกลับมาเป็นทำนองสำคัญที่สุดในช่วงสุดท้าย ส่วนนี้จะจบลงด้วย”สายฝน” ที่มีเสียงประสานที่บีบเค้นเหมือนเมฆดำทมึน

จากนั้นจึงเข้ากระบวนสุดท้าย(Recapitulation) ซึ่งย้อนทำนองแรกและสองในกุญแจเสียง จี เมเจอร์ (G Major) ผันทำนอง”สายฝนให้มีเสียงประสานที่เข้ทข้นขึ้น แล้วจึงสรุปลงด้วยประโยคแรกของ”บุหลันลอยเลื่อน” นำเข้าสู่จุดสุดยอดของกระบวนอย่างสง่างาม



Moderato หมายถึง

1. ความเร็วปานกลาง ซึ่งเร็วกว่าอันดานเต แต่ช้ากว่าอัลเลเกรทโต

2. อย่างปานกลาง allegro moderato หมายถึง เร็วปานกลาง

Dorian mode โมดโดเรียน โมดที่ใช้ในเพลงโบสถ์ยุคกลาง ซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นจาก D ไป D บนคีย์ขาวของเปียโน


๑.๒ บุญประช    (ลีลา Scherzo(vivace – adante – vivace)
มีลีลาสนุก โดยมีทำนองใกล้รุ่งและคลื่นกระทบฝั่งผสานกันไปเหมือนเกลียวเชือกที่มีสีสันสดใส  ท่อนกลางจะเป็นทำนอง ค่ำแล้วเต็มทำนอง  แล้วจึงย้อนต้นอีกครั้ง(คีตลักษณ์แบบ Ternary - ABA)  จบลงด้วย Coda ที่ไล่เสียงอย่างว่องไว  และจบลงอย่างน่ารัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ  จักรพันธุ์  ได้เคยรับสั่งว่า อาจกล่าวได้ว่า เพลงค่ำแล้ว นั้น เป็นเพลงกล่อมเด็กที่ไพเราะที่สุดในโลก”  ผู้ประพันธ์จึงนำทำนองนี้มาใช้เป็นทำนองเดียวในเพลงถวายชัยคีตมหาราชาที่คงรูปอย่างสมบูรณ์

Scherzo ขบวนหนึ่งในบทเพลงที่มีลักษณะขี้เล่นสนุกสนานอยู่ในจังหวะรวดเร็วประเภทนับสาม (สามจังหวะในแต่ละห้อง)เบโธเฟนเป็นผู้นำสแกรโซเข้าไปแทนที่มินนูเอ็ดที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมในบทเพลงประเภทซิมโฟนีและโซนาตาจำนวนมากของเขาโชแปงและบราห์มส์ได้แต่งบทประพันธ์หลายบทที่มีลักษณะอย่างเอางานเอาการ โดยใช้ชื่อว่า "สแกร์โซ"

Ternary สามส่วนคีตลักษณ์แบบเทอนารี่นี้ส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สามปกติแล้วจะเหมือนกันสำหรับส่วนกลางจะมีทำนองที่แตกต่างออกไป และมักจะอยู่ในคีย์ต่างกันด้วย


  
๑.๓ ผาสุขสันติ   (ลีลา Adagio)
บทนำของท่อนนี้ ชวนให้นึกถึงภาพของแสงเดือนวันเพ็ญทีสะท้อนบนผิวน้ำเกือยจะนิ่งทำนองแสงเดือนจะเข้ามาอย่างแช่มช้า ประดุจดวงเดือนลอยมาโดยมีทำนองเอื้อนเอ่ยของราตรีประดับดาวกระจายระยิบระยับบนเสียงสูง บรรยากาศของกระบวนนี้ ให้ความสงัดของยามราตรี มีความรู้สึกหวาน และลึกซี้งจับใจ ซึ่งให้ความสมหวังในที่สุด
Adagio อย่างเชื่องช้าอย่างสบายอารมณ์ ช้ากว่าอันดานเต้แต่เร็วกว่าลาโก
        

 ๑.๔ ทีฆายุโก  โหตุ  มหาราชา   (ลีลา Allegro ma non troppo)
ใช้ทำนองเขมรละออองค์เป็นทำนองหลักซึ่งอยู่ในคีตลักษณ์แบบ Rondo มีทำนองมหาจุฬาลงกรณ์เป็นท่อนแยกครั้งที่ ๑ ตามด้วยทำนองหลักในกุญแจเสียง เอ แฟ็ลต เมเจอร์ (Ab Major)  แล้วจึงเข้าท่อนแยกครั้งที่ ๒ ด้วยทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองแล้วกลับเข้าทำนองหลักในกุญแจเสียงเดิมคือ เอ็ฟ เมเจอร์(F Major) แล้วจึงคามด้วยบทสรุป  ซึ่งนำเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองและมหาจุฬาลงกรณ์มาประชันกันเพลงจบลงอย่างองอาจมีชัย  และมีความผาสุข

Allegro ma non troppo หมายถึงเร็วแต่เร็วไม่มากนัก

Rondo บทเพลงที่มีทำนองหลักสลับด้วยทำนองอื่น ๆ ที่มีลักษณะแตกต่างกันตัวอย่างดังต่อไปนี้ A แทนทำนองหลักตัวอักษรอื่น ๆ แทนทำนองซึ่งแตกต่างออกไป A b A c A ตามปกติแล้วบทเพลงประเภทรอนโดมักจะแจ่มใสสนุกสนานและมีลีลารวดเร็วและจะอยู่ในกระบวนสุดท้ายของโซนาตาคอนแชรโต้และซิมโฟนี

โดยชื่อของทั้ง ๔ ลีลาถูกตั้งโดย คุณหญิงมาลี  สนิทวงศ์ ณ  อยุธยา


เพลงพระราชนิพนธ์อีก ๖ เพลงที่เรียบเรียงเสียงประสานโดย อาจารย์ญัฐ  ยนตนรักษ์

Somewhere, Somehow
Never Mind the Hungry men’s Blues
Blue Day
Still on My Mind
Oh, I say
๑๐ Love Light in my Heart

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น