วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Richard Clayderman – THAILAND MON AMOUR / ปฐมบทประวัติแผ่นซีดีที่มีเพลงพระราชนิพนธ์แผ่นแรกของไทย

ปฐมบทประวัติแผ่นซีดีที่มีเพลงพระราชนิพนธ์แผ่นแรกของไทย




 Richard Clayderman – THAILAND MON AMOUR

CD ที่มีเพลงพระราชนิพนธ์ แผ่นแรกของไทย อัลบั้มเพลงบรรเลงด้วยเปียโน จากนักเปียโนฝีมือระดับสุดยอด ที่ชื่อว่า Richard Clayderman ชาวฝรั่งเศส เป็นอัลบั้มที่จัดทำขึ้นโดย บริษัท คลอสเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับมูลนิธิแผ่นดินธรรม โดยได้มีการอัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์จำนวน ๔ เพลงได้แก่ 1.Falling Rain 2.Magic Beams 3.Love in Spring 4.Candlelight Blues มาไว้ในอัลบั้มนี้ ซึ่งมีการจัดทำออกมาในรูปแบบเทปและซีดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ (ปี ค.ศ.1988) มีทั้งหมด ๑๐ เพลง แนวเพลงนุ่มหวานตามสไตล์เสียงจากเปียโน ที่รู้สึกได้ถึงความพริ้วไหวของอารมณ์และการบรรเลงของนักดนตรีที่เปี่ยมความสามารถ ทำให้รู้สึก รับรู้ ถึงอรรถรสของบทเพลงได้อย่างง่ายดาย เเละในปีนั้น คุณวิมล เตชะไพบูลย์ ก็ได้เชิญ Richard Clayderman เข้ามาเปิดการแสดงคอนเสริต์ในบ้านเราด้วยเช่นกัน



ซีดีแผ่นนี้ได้ผลิตจากต่างประเทศโดยสังกัดค่าย DELPHINE FRANCE โดยที่ตัวแผ่นซีดีผลิตออกมา 2รุ่น จากประเทศออสเตรเลีย (แผ่นเงิน) และจากประเทศญี่ปุ่น (แผ่นทอง 24K.) จึงถือได้ว่าเป็นแผ่นซีดีชุดแรก ที่มีเพลงพระราชนิพนธ์ รวมอยู่ด้วย ในตอนขั้นตอนการผลิตนั้นได้ส่ง Master ไปผลิตทั้งที่ญี่ปุ่น(แผ่นทอง) และออสเตรเลีย (แผ่นเงิน) ในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่แผ่นเงินได้ถูกส่งกลับมาจัดจำหน่ายในบ้านเราก่อนส่วนแผ่นทองนั้นได้ผลิต และจัดจำหน่ายที่ต่างประเทศเท่านั้น



และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีผู้สั่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศเช่นกัน แต่มีจำนวนน้อยมาก และขายไม่ค่อยได้มากนักเนื่องจากราคาจัดจำหน่ายในตอนนั้นสูงกว่าแผ่นเงินมากนั้นเอง CD แผ่นเงินถูกผลิตขึ้นมาอย่างน้อย 2 - 3 รุ่น (ซึ่งมีผลิตเป็นเทปคาสเซ็ทด้วย ใช้รูปปกเหมือนกับปกซีดีแผ่นเงิน) ส่วน CD แผ่นทอง ยังพบเจอแค่รุ่นเดียวเท่านั้นและในปัจจุบันก็หายากแล้วเช่นกัน และได้กลายเป็นอีกหนึ่งอัลบั้มเพลงพระราชนิพนธ์ที่นักสะสมตามหากันครับ





ข้อมูลอัลบั้ม
An Original DELPHINE Recording, Paris, France.
Produced by Paul de Senneville and Olivier Toussaint
Arranged by Gerald Salesses and Olivier Toussaint
Recorded D.D.D at DELPHINE Studios, Paris, France
Sound Engineer : Patrick Sigwalt

ข้อมูลบทเพลง
1. สายฝน Falling Rain
2. แสงเดือน Magic Beams
3. ลมหนาว Love in Spring
4. แสงเทียน Candle Light Blue
5. เงาไม้ Ngao Mai (Shade) บทเพลงของ มล.พวงร้อย สนิทวงศ์
6. บัวขาว Bua Khaw (White Lotus) บทเพลงของ มล.พวงร้อย สนิทวงศ์
7. เสน่หา Saneha (Love) บทเพลงของ คุณมนัส ปิติสานต์
8. รักไม่เป็น Rak Mai Pen (What is Love?) บทเพลงของ มล.ประพันธ์ สนิทวงศ์
9. ลมหวล Lom Huan (Shifting Wind) บทเพลงของ มล.ประพันธ์ สนิทวงศ์
10. จงรัก Chongrak (Just Love Me) บทเพลงของคุณจงรัก จันทร์คณา

สมัยนั้นแผ่นซีดีที่ผลิตขึ้น และมีขายในบ้านเราล้วนผลิตจากต่างประเทศทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เพราะว่าขณะนั้นบ้านเรายังไม่มีโรงงานที่สามารถผลิตแผ่นซีดีขึ้นมาเองได้นั้นเอง ซึ่งตัวแผ่นซีดีแผ่นนี้ก็เป็นเพลงพระราชนิพนธ์แผ่นแรกของไทยที่ได้ทำการผลิต และนำเข้าจากต่างประเทศเช่นกันครับ






วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แผ่นเสียง A TRIBUTE TO KING OF JAZZ by John Di Martino 180 Gram Vinyl ผลิตขึ้นเพียง 500 แผ่น ทำ Mastering by Bernie Grundman (RTI Records) / Made in U.S.A.

แผ่นเสียง A TRIBUTE TO KING OF JAZZ by John Di Martino

180 Gram Vinyl ผลิตขึ้นเพียง 500 แผ่น ทำ Mastering by Bernie Grundman (RTI Records) / Made in U.S.A.




อัลบั้มเพลงพระราชนิพนธ์ A TRIBUTE TO KING OF JAZZ by John Di Martino  ที่หลายคนชื่นชอบตั้งแต่ตอนผลิตออกมาเป็นแผ่นซีดีและวันนี้ได้ผลิตมาเป็นในรูปแผ่นเสียงแล้ว

9 บทเพลงพระราชนิพนธ์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นของขวัญระดับพรีเมี่ยมเนื่องในโอกาสพิเศษแห่งปีนำมาเรียบเรียงและบรรเลงใหม่ในสไตล์ Acoustic Jazz โดยศิลปิน ชาวอเมริกัน “John Di Martino” ผ่านบทเพลงอันทรงคุณค่า สุดไพเราะ อาทิ แสงเทียน (Candlelight Blues),ชะตาชีวิต (H.M. Blues) ยามเย็น (Love at Sundown),Oh I Say etc..ตีความได้อย่างละเอียดละเมียดละไม เป็นธรรมชาติของมวลเสียงจนถึงความชัดเจนที่ให้เสียงออกมาได้อย่างโดดเด่นช่วยส่งผลให้บรรยากาศของเสียงดนตรีที่ถ่ายทอดออกมามีความไพเราะน่าฟัง ผ่านกระบวนการบันทึกเสียงคุณภาพระดับ Audiophile จาก New York,USA จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับทั้งแฟนเพลงที่นิยมเพลงแจ๊สเอาไว้สะสมเป็นเพชรน้ำเอก ประจำคอลเล็กชั่นและแฟนเพลงทั่วไปที่จะใช้เป็นก้าวแรกในการเปิดโลกทัศน์แห่งมนต์ขลังของการฟังดนตรีแจ๊ส

 สำหรับเพลงพระราชนิพนธ์ชุดนี้ต้องขอชื่นชมทั้งอัลบั้มไม่ว่าจะเป็นเพลง ดนตรี และการบันทึกเสียงทำได้ดีมากไม่ผิดหวัง ยิ่งเปิดฟังกับชุดแอมป์หลอดที่ใช้อยู่ด้วยแล้วไปกันได้ดีมากๆ เชื่อว่าเป็นอีกอัลบั้มที่นักเล่นเก็บสะสมไว้ประจำห้องฟังเพลงที่ไม่ควรพลาดครับ





- แสงเทียน (Candlelight)
- แสงเดือน (Magic Beam)
- สายฝน (Falling Rain)
- ลมหนาว (Love Spring)
- ยามเย็น (Love at Sundown)
- Oh I say
- อาทิตย์อับแสง (Blue Day)
- ชะตาชีวิต (H.M. Blues)
- แว่ว (Echo)

** Copyright by His Majesty King Bhumibol Adulyadej**
- ลิขสิทธิ์เพลงเป็นของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557





Glory to Our Great Kings (Thai Piano Music)

Nat Yontararak (b.1954)
Glory To Our Great Kings: Sonata for Piano
Penpiroon: Moderato
Boonpracha: Scherzo (Vivace -Andante -Vivace)
Pasooksanti: Adagio
Teeka Yooko Hotu Maharaja: Allegro ma non troppo

In Glory to Our Great Kings, a sonata for solo piano, the composer uses four melodies composed by past monarchs of the Chakri Dynasty as musical themes. These melodies are Bulan Loy Luen ('Floating Moon') by his Majesty King Rama II; Kluen Kratop Fang ('Breaking Waves'), Ratree Pradap Dao ('Starry Night') and Khamen La-or Ong by His Majesty King Rama VII. In addition, six popular songs by His Majesty the King are also used to intertwine with the first four melodies, employing Western harmony with Thai overtones.

The first movement, called Penpiroon in Thai, is of noble and graceful character. It uses Bulan Loy Luen and Saifon ('Falling Rain') as its two subjects. The first subject ends in the Dorian mode, which is unusual to the ear and reappears as the very end of the movement. The exposition begins with Bulan Loy Luen followed by a bridge passage imitating the sound of the falling rain, which introduces the Saifon melody. The development section sees the first subject in various transformations and, at times, hinting at the tune of Maha Chulalongkorn, an important theme of the last movement. This section ends with Saifon shrouded in dissonance. In the recapitulation, both subjects return in G major, a richly harmonized Saifon is followed by the return of Bulan Loy Luen, leading to a festive climax of the movement.

The second movement opens brightly with a brilliant combination of two melodies, Klai Roong ('Near Dawn') and Kluen Kratop Fang. In the middle section, the complete melody of Kham Laew ('Lullaby') is heard, followed by a da capo to complete the ternary form. The movement ends with a fast but sweet coda. It has been said that Kham Laew is one of the most beautiful lullabies ever written and thus it is the only melody that is heard complete and unaltered in the sonata.

The introduction to the third movement ushers in the image of the moon and stars reflected in the still water. The melody of Saengduan ('Magic Beams') enters slowly as the rising moon, accompanied by the fluid melody of Ratree Pradap Dao shimmering in the upper register. The mood of stillness and ecstasy of the night is perfectly evoked, portrayed by the quiet profound beauty of this movement.




The last movement is a rondo which opens with the melody of Khamen Laor Ong, followed by Maha Chulalongkorn, and then returns to the first section in a higher key of A major. The next section introduces the melody Yoong Thong ('Golden Peacock') before the return of the first section in the original key of F major. The movement is rounded off with a coda of Yoong Thong and Maha Chulalongkorn playing against one another, leading to a triumphant and joyful conclusion.

The overall mood of the movement is lively, using unusual pianistic techniques that sometimes imitate the sounds of the Thai gamelan. Maha Chulalongkorn is the only composition by His Majesty the King in the pentatonic scale. It was transcribed for the pentatonic scale by Khun Kru Devaprasit / Patayakosol, to be played by the Thai Pipat Orchestra at the request of His Majesty the King in 1954, the year of the Nat Yontararak's birth.

The sonata was given its first performance in the Golden Jubilee Concert series of the Bangkok Symphony Orchestra in October 1994.

The Force Behind 'Glory to Our Great Kings'
Glory to Our Great Kings was composed at the suggestion of Khunying Malee Snidvongse na Ayuddhya, who wished to see a compilation of melodies composed by the monarchs of the Chakri Dynasty. The idea was then conceived of using all the royal themes as various elements in a single composition as tribute to the royal musical talents of our great kings. The composition is appropriate, especially on the occassion of His Majesty the King's Golden Jubilee Celebration of his Ascension to the Throne.

After some research, the composer found that besides His Majesty, two other monarchs, His Majesty King Rama II and His Majesty King Rama VII had been composers. Harnessing these various themes according to the original concept proved a formidable challenge but the composer managed to realize the piece in just seven months, from January to July 1994.

Modern Thai ways of life have their roots in the ancient culture and values of old Siam. Yet in this age of booming economy and industrialisation, we Thai still return to our gentle, compassionate and innate strength. Likewise, the character of the music conveys both the gentleness and the strength of the Thais. This philosophy reflects further the fact that finer qualities can still be appreciated in modern living if one takes time to seek them. The uncomplicated nature of the music and the Thai quality apparent in it show that in this age of globalisation, one can still be proud of the great heritage of our culture.

Six Arrangements of H.M. King Bhumibol's songs
His Majesty King Bhumibol has composed more than forty songs, all of them are beautiful music. There are six songs already used as motives for Glory to Our Great Kings. In these six arrangements are another six songs each gives a different romantic atmosphere, Somewhere Somehow, Still on My Mind and Love Light in My Heart. Blue Day is the only song in a minor key, which gives a more dramatic and more melancholy feelings, while Never Mind the H.M. (Hungry Men's) Blues and Oh I Say have more rhythmic pulse, conveying a more light hearted feeling.These songs are much loved by the Thai people as much as we love our King who unites all Thai together as a whole nation.


English translation by Kampanat Atichatpong




แผ่นบทเพลง Glory to Our Great King (ถวายชัยคีตมหาราชา)

โดย อาจารย์ญัฐ  ยนตนรักษ์

บทประพันธ์ โซนาต้า “ถวายชัยคีตมหาราชา” เป็นดนตรีประกอบดารแสดงบัลเล่ต์เรื่อง”มัทนพาธา” บทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือน พฤษภาคม ๒๕๓๙

และเพลงโซนาต้าบทนี้แสดงครั้งแรกในคอนเสิร์ต”กาญจนาภิเษกสมัย” ซึ่งจัดโดยวงดุริยางค์ซิมโฟนี กรุงเทพเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๗ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ความเป็นมาของ “โซนาต้าถวายชัยคีตมหาราชา (Glory to Our Great King)

เพลงนี้เป็นดำริของคุณหญิงมาลี  สนิทวงศ์  ณ  อยุธยา ที่ปรารถนาจะได้เห็นการนำทำนองบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์  มาประมวลไว้ คิดกันตอนต้นว่าเป็น Royal Compositions โดยมีวัตถุประสวค์ที่จะเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาธรรมิกราช ซึ่งมีพระราชพิธีกาญจนาภิเษกแลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๓๙

ผู้ประพันธ์จึงได้ค้นคว้าพบว่า มีเพลงไทยเดิมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หนึ่งองค์ คือ “บุหลันลอยเลื่อน” และที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ๓ องค์ คือ “คลื่นกระทบฝั่ง” , “ราตรีประดับดาว” และ “เขมรละออองค์” จึงได้นำบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้ง  ๔ องค์นี้มาเป็นทำนองหลักของแต่ละกระบวน  และอัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช  เพื่อเป็นฐานหลักของโครงสร้างอีก ๖ องค์

ความคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำเป็นรูปธรรมได้ยากมาก  แต่ก็ได้พยายามสุดความสามมารถ  สุดกำลังความคิดเพื่อที่จะถวายเป็นเครื่องสักการะแต่ละองค์พระมหากษัตริย์ไทย   ผู้มีเกียรติคุณเกริกไกร  แผ่ไพศาลเหนือแผ่นดินไทยตลอดมา  ในฐานะประชาชนคนหนึ่งผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  ที่ได้เกิดเป็นคนไทยอาศัยอยู่ในร่มพระบรมโพธิสมภาร  มีความสุขความเจริญตราบถึงปัจจุบัน  เป็นแรงบันดาลใจให้มีความเพียรพยายามประพันธ์โซนาต้า”ถวายชัยคีตมหาราชา” นี้

อธิบายความทั้งหมด โดย ญัฐ  ยนตนรักษ์



ซีดีแผ่นนี้ประกอบด้วยเพลง ถวายชัยคีตมหาราชา ๔ ลีลา และ เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราชา อีก ๖ เพลง

๑. Piano Sonata Glory to Our Great King (ถวายชัยคีตมหาราชา) ประกอบด้วย

๑.๑ เพ็ญพิรุณ   (ลีลา Moderato)

มีลักษณะสง่างาม อยู่ในคีตลักษณ์แบบโซนาต้า โดยช้าทำนองเพลง”บุหลันลอยเลื่อน” เป็นทำนองแรก และเพลง”สายฝน” เป็นทำนองที่ ๒ ทำนองแรกนั้นมีช่วงจบอยู่ในบันไดเสียงแบบ Dorian mode ซึ่งแปลกและสะดุดหูจึงใช้เป็นทำนองนำและจบของกระบวนด้วย กระบวนนี้จึงแบ่งเป็นออกเป็น ๓ ส่วน

ส่วนแรก(Exposition) เริ่มด้วยทำนอง”บุหลันลอยเลื่อน” ที่มีช่วงต่อนำเข้า”สายฝน” โดยมีลักษณะล้อเสียงของเม็ดฝนเป็นเสียงสูง แล้วสายฝนประโยคแรกจะเข้ามาด้วยเสียงต่ำก่อน แล้วจึงสรุปลงด้วยเสียงฝนพราว ก่อนจะเข้า

ส่วนกลาง(Development) ซึ่งใช้ทำนองแรกมาแปรในลักษณะต่างต่าง มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เอ่ยถึงเพลง”มหาจุฬาลงกรณ์” ซึ่งจะกลับมาเป็นทำนองสำคัญที่สุดในช่วงสุดท้าย ส่วนนี้จะจบลงด้วย”สายฝน” ที่มีเสียงประสานที่บีบเค้นเหมือนเมฆดำทมึน

จากนั้นจึงเข้ากระบวนสุดท้าย(Recapitulation) ซึ่งย้อนทำนองแรกและสองในกุญแจเสียง จี เมเจอร์ (G Major) ผันทำนอง”สายฝนให้มีเสียงประสานที่เข้ทข้นขึ้น แล้วจึงสรุปลงด้วยประโยคแรกของ”บุหลันลอยเลื่อน” นำเข้าสู่จุดสุดยอดของกระบวนอย่างสง่างาม



Moderato หมายถึง

1. ความเร็วปานกลาง ซึ่งเร็วกว่าอันดานเต แต่ช้ากว่าอัลเลเกรทโต

2. อย่างปานกลาง allegro moderato หมายถึง เร็วปานกลาง

Dorian mode โมดโดเรียน โมดที่ใช้ในเพลงโบสถ์ยุคกลาง ซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นจาก D ไป D บนคีย์ขาวของเปียโน


๑.๒ บุญประช    (ลีลา Scherzo(vivace – adante – vivace)
มีลีลาสนุก โดยมีทำนองใกล้รุ่งและคลื่นกระทบฝั่งผสานกันไปเหมือนเกลียวเชือกที่มีสีสันสดใส  ท่อนกลางจะเป็นทำนอง ค่ำแล้วเต็มทำนอง  แล้วจึงย้อนต้นอีกครั้ง(คีตลักษณ์แบบ Ternary - ABA)  จบลงด้วย Coda ที่ไล่เสียงอย่างว่องไว  และจบลงอย่างน่ารัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ  จักรพันธุ์  ได้เคยรับสั่งว่า อาจกล่าวได้ว่า เพลงค่ำแล้ว นั้น เป็นเพลงกล่อมเด็กที่ไพเราะที่สุดในโลก”  ผู้ประพันธ์จึงนำทำนองนี้มาใช้เป็นทำนองเดียวในเพลงถวายชัยคีตมหาราชาที่คงรูปอย่างสมบูรณ์

Scherzo ขบวนหนึ่งในบทเพลงที่มีลักษณะขี้เล่นสนุกสนานอยู่ในจังหวะรวดเร็วประเภทนับสาม (สามจังหวะในแต่ละห้อง)เบโธเฟนเป็นผู้นำสแกรโซเข้าไปแทนที่มินนูเอ็ดที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมในบทเพลงประเภทซิมโฟนีและโซนาตาจำนวนมากของเขาโชแปงและบราห์มส์ได้แต่งบทประพันธ์หลายบทที่มีลักษณะอย่างเอางานเอาการ โดยใช้ชื่อว่า "สแกร์โซ"

Ternary สามส่วนคีตลักษณ์แบบเทอนารี่นี้ส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สามปกติแล้วจะเหมือนกันสำหรับส่วนกลางจะมีทำนองที่แตกต่างออกไป และมักจะอยู่ในคีย์ต่างกันด้วย


  
๑.๓ ผาสุขสันติ   (ลีลา Adagio)
บทนำของท่อนนี้ ชวนให้นึกถึงภาพของแสงเดือนวันเพ็ญทีสะท้อนบนผิวน้ำเกือยจะนิ่งทำนองแสงเดือนจะเข้ามาอย่างแช่มช้า ประดุจดวงเดือนลอยมาโดยมีทำนองเอื้อนเอ่ยของราตรีประดับดาวกระจายระยิบระยับบนเสียงสูง บรรยากาศของกระบวนนี้ ให้ความสงัดของยามราตรี มีความรู้สึกหวาน และลึกซี้งจับใจ ซึ่งให้ความสมหวังในที่สุด
Adagio อย่างเชื่องช้าอย่างสบายอารมณ์ ช้ากว่าอันดานเต้แต่เร็วกว่าลาโก
        

 ๑.๔ ทีฆายุโก  โหตุ  มหาราชา   (ลีลา Allegro ma non troppo)
ใช้ทำนองเขมรละออองค์เป็นทำนองหลักซึ่งอยู่ในคีตลักษณ์แบบ Rondo มีทำนองมหาจุฬาลงกรณ์เป็นท่อนแยกครั้งที่ ๑ ตามด้วยทำนองหลักในกุญแจเสียง เอ แฟ็ลต เมเจอร์ (Ab Major)  แล้วจึงเข้าท่อนแยกครั้งที่ ๒ ด้วยทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองแล้วกลับเข้าทำนองหลักในกุญแจเสียงเดิมคือ เอ็ฟ เมเจอร์(F Major) แล้วจึงคามด้วยบทสรุป  ซึ่งนำเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองและมหาจุฬาลงกรณ์มาประชันกันเพลงจบลงอย่างองอาจมีชัย  และมีความผาสุข

Allegro ma non troppo หมายถึงเร็วแต่เร็วไม่มากนัก

Rondo บทเพลงที่มีทำนองหลักสลับด้วยทำนองอื่น ๆ ที่มีลักษณะแตกต่างกันตัวอย่างดังต่อไปนี้ A แทนทำนองหลักตัวอักษรอื่น ๆ แทนทำนองซึ่งแตกต่างออกไป A b A c A ตามปกติแล้วบทเพลงประเภทรอนโดมักจะแจ่มใสสนุกสนานและมีลีลารวดเร็วและจะอยู่ในกระบวนสุดท้ายของโซนาตาคอนแชรโต้และซิมโฟนี

โดยชื่อของทั้ง ๔ ลีลาถูกตั้งโดย คุณหญิงมาลี  สนิทวงศ์ ณ  อยุธยา


เพลงพระราชนิพนธ์อีก ๖ เพลงที่เรียบเรียงเสียงประสานโดย อาจารย์ญัฐ  ยนตนรักษ์

Somewhere, Somehow
Never Mind the Hungry men’s Blues
Blue Day
Still on My Mind
Oh, I say
๑๐ Love Light in my Heart

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

CD ร้อง บรรเลง เพลงของพ่อ



อัลบั้ม “ร้อง บรรเลง เพลงของพ่อ” คืออีกหนึ่งในภารกิจหลักของโครงการ H.M.BLUES ที่มุ่งเผยแผ่เพลงพระราชนิพนธ์ ให้เป็นที่ประจักษ์แพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยทุกหมู่ทุกเหล่าทุกเพศทุกวัย สำหรับอัลบั้มชุดนี้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญเพลงพระราชนิพนธ์มาเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีใหม่ รวม 26 เพลงพระราชนิพนธ์และอีก 1 เพลงเทิดพระเกียรติ ชื่อ King of Kings ดูแลการผลิตโดย นายพงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศิลปินเพลงและนักเรียบเรียงเสียงประสานชั้นแนวหน้าของวงการเพลงเมืองไทย โดยมีการนำมาจัดทำดนตรีใหม่ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง ร็อค , แจ๊ส , บลูส์ , เร็กเก้ เพื่อให้เข้าถึงผู้ฟังรุ่นใหม่อย่างกว้างขวาง

ที่น่าปลาบปลื้มใจ นั่นก็คือ งานชุดนี้มีศิลปินที่มีชื่อเสียงจากสังกัดค่ายต่างๆ มาร่วมงานด้วยอย่างมาก
มาย ทั้งศิลปินร็อค , พ๊อพ , ลูกทุ่ง ที่พร้อมใจกันมาร่วมร้อง บรรเลง เพลงของพ่อ กันอย่างคับคั่ง โดยไม่แบ่งค่ายแบ่งสังกัด อาทิ อำพล ลำพูล , โจ,ก้อง,จอห์น (วง นูโว) , อัญชลี จงคดีกิจ , วง Trivener ( ปีเตอร์ คอร์ป , กอล์ฟ รุ่งโรจน์ ,เทรุ ) , ศิริลักษณ์ ผ่องโชค ,สุนารี ราชสีมา , คริสตี้ กิ๊บสัน , นภ พรชำนิ , เบน ชลาทิศ , สบชัย ไกรยูรเสน , ชวินทร์ จิตสมบูรณ์ , ธีรภัทร์ สัจจกุล , รัดเกล้า อามระดิษ , เจนนิเฟอร์ คิ้ม , วง ทีโบน , สุรสีห์ อิทธิกุล , ต้าร์ มิสเตอร์ทีม , บีม จารุวรรณ , อรวรรณ เย็นพูลสุข , ธานัท ธัญญหาร, วง ไอโอเนี่ยน เป็นต้น สำหรับอัลบั้มชุดนี้ เชื่อว่าจะต้องเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนทั่วไป และกลุ่มผู้ฟังเพลงรุ่นใหม่ เพราะด้วยสีสันของเพลง และศิลปินนักร้องที่มาร่วมในงานชุดนี้ รวมถึงเนื้อหาของบทเพลงที่กินใจเข้าถึงได้ง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อีกด้วย


บทเพลงที่น่าสนใจ

Disc 1
1. ชะตาชีวิต / อำพล ลำพูล
2. อาทิตย์อับแสง Blue day / ศิริลักษณ์ ผ่องโชค
3. Echo /จารุวรรณ บุญญารักษ์
4. ใกล้รุ่ง / คริสตี้ กิ๊บสัน
5. Oh i Say / Trivener
6. ลมหนาว Love in Spring / จิรายุส วรรธนะสิน ,สหรัถ , สังคปรีชา , นรศักดิ์ รัตนเวโรจน์
7. แสงเทียน / สุรสีห์ อิทธิกุล
8. ภิรมย์รัก / วิริยาภา จันทร์สุวงศ์
9. Dream lsland / ทีโบน
10. Can't You Ever See / รัตนเกล้า อามระดิษ
11. ยิ้มสู้ / Iconion
12. Still On My Mind / เจนนิเฟอร์ คิ้ม
13. Somewhere Somehow / นภ พรชำนิ
14. พระมหามงคล / เพลงบรรเลง

Disc 2
1. H.M. Blues / ธีรภัท สัจจกุล
2. แผ่นดินของเรา / อรวรรณ เย็นพูนสุข,กานต์ จั่นทอง , เนตรนภา หาญโรจนวุฒิ ,ธานัต ธัญญหาญ
3. I Never Dream / ชวิน จิตรสมบูรณ์
4. ยามเย็น / สุรชัย วงษ์บัวขาว
5. ค่ำแล้ว / สุนารี ราชสีมา
6. แสงเดือน / ชลาทิศ ตันติวุฒิ , ศิริณี สมรรถนาวิน, เบญญาภา สุขินุ , วิริยาภา จันทร์สุวงศ์ , ศักดิ์สิทธิ? เวชสุภาพร
7. สายฝน / ศิริณี สมรรถนาวิน
8. When / ธานัท ธัญญหาญ
9. Love Over Again / อัญชบี จงคดีกิจ
10. ดวงใจกับความรัก / เบญญาภา สุขีนุ
11. คำหวาน / สมชัย ไกรยูรเสน
12. Friday Night Rag (ศุกร์สัญลักษ์) / เพลงบรรรเลง

Enhanced CD
King of Kings (audio + video) รวมศิลปิน  

เพลงพระราชนิพนธ์บทเพลงอันทรงคุณค่าสำหรับปวงชนชาวไทย






A TRIBUTE TO KING OF JAZZ by John Di Martino

โดยการอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์จำนวน ๑๑ บทเพลงโดยฝีมือศิลปินแจ๊สชื่อดังของอเมริกา John Di Martino และเพื่อนนักดนตรีที่มากความสามารถคือ Alex Foster (อเล็กซ์ ฟอสเตอร์) แซกโซโฟน ,Paul Meyers (พอล เมเยอร์) กีต้าร์, Boris Kozlov (บอริส คอสลอฟ) อคูสติกเบส,Tim Horner (ทิม ฮอร์นเนอร์) กลอง,Deanna Kirk (ดีนนา เคิรต์) ขับร้อง มาร่วมทำงานโปรเจ็คพิเศษร่วมกันเพราะศิลปินเหล่านี้ซาบซึ้งถึงพระอัจฉริยภาพทางดนตรีแจ๊สขององค์ในหลวงและต้องการที่จะมีส่วนร่วม

เฉลิมฉลองในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๗ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ และการเริ่มปีมหามงคลที่พระองค์ทรงเจริญพระชนม์มายุครบ ๘๖ พระชันษาในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ เหมือนกับคนไทยมาเรียบเรียงและบรรเลงในลักษณะแนวดนตรีแจ๊สในแบบ Acoutic Jazz เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย สังคมไทย และคงไว้ซึ่งรอยยิ้ม แห่งความสุขร่วมกันตลอดไป



CD อัลบัมนี้มีอยู่ 2 เวอร์ชั่นทั้งแบบแผ่นธรรมดาสีเงิน 16bitและ แผ่นทอง 24bit ที่สามารถให้คุณภาพเสียงได้เหนือกว่าแผ่นธรรมดา ทั้งทางด้านรายละเอียดของเสียงรวมถึงความชัดเจนของมิติและความใสสะอาดของเวทีเสียง สามารถให้คุณภาพเสียงออกมาได้อย่างโดดเด่นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ความเป็นธรรมชาติของมวลเสียง (Timbre) ซึ่งช่วยส่งผลให้บรรยากาศของดนตรีที่ถ่ายทอดออกมานั้นมีความไพเราะน่ารื่นรมย์เป็นอย่างยิ่ง

จัดมำขึ้นเพื่อเป็นของขวัญระดับพรีเมี่ยมในโอกาสพิเศษแห่งปีเพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสได้ร่วมสัมผัสอรรถรสของ ๑๑ บทเพลงพระราชนิพนธ์อันทรงคุณค่า ตีความได้อย่างละเอียดละเมียดละไม ฟังง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ มโหฬาร โดยจัดทำเป็นชุดพิเศษ Limited Edition Gold Disc ทรงคุณค่า ควรคู่แก่การเก็บสะสม ผลิตในจำนวนจำกัด เพียงแค่ 2,000 แผ่นเท่านั้น มีการทำหมายเลขเรียงตามลำดับ Running Numbered ไว้ที่กล่องด้านหลัง มุมล่างขวามือ ( เฉพาะแผ่นทอง 24bit เท่านั้น)




เหมาะสำหรับมท่านที่ชื่นชอบสุ้มเสียงหลอดสุญญากาศ  ซีดีแผ่นนี้ใช้ Sony C-37A ไมโครโฟนหลอด 6AU6 อาจจะถูกจริตบ้างไม่มากก็น้อย  ส่วนท่าน DIYerคงจะได้ซีดีอ้างอิงอันทรงคุณค่า สำหรับมอบให้แก่บุคคลที่เคารพนับถือ คุณครู อาจารย์ ญาตสนิท มิตรสหาย เนื่องในโอกาสเทศกาลต่างๆ เช่นวันขึ้นปีใหม่ วาเลนไทน์ ตรุษจีน สงกรานต์ วันเกิด และงานมงคลต่างๆ ถูกใจทั้งผู้ให้ และประทับใจทั้งผู้รับ

ด้วยการบันทึกเสียงระดับ High-End ที่ Tedesco Studios ในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับทั้งแฟนเพลงที่นิยมเพลงแจ๊สเอาไว้สะสมเป็นเพชรน้ำเอกประจำคอลเล็กชัน และแฟนเพลงทั่วไปที่จะใช้เป็นก้าวแรกในการเปิดโลกทัศน์แห่งมนต์ขลังของการฟังดนตรีแจ๊สที่ในอนาคต จะต้องเป็นแผ่นที่ RARE and A MUST HAVE,HARD TO FIND แน่นอนครับ